- Graphic Design
- Source code writing
- Testing and debugging
Testing : เมื่อพัฒนาระบบจนเสร็จก็มาถึง ขั้นตอนทดสอบระบบ ซึ่งกระบวนนี้เป็นกระบวนการหาข้อบกพร่องของระบบทั้งหมด เพื่อให้นักพัฒนาเพื่อแก้ไข กระบวนการทดสอบจะทำซ้ำจนกว่าปัญหาจะหมด และโปรแกรมเสถียรที่สุดDeployment : เมื่อพัฒนาระบบจนเสร็จ พร้อมใช้งาน ก็เปิดให้บริการ-ใช้งานได้เลย ในขั้นนี้จะเริ่มมีคำติชม ของโปรแกรมที่พัฒนา ก็สามารถนำมาอัปเดตระบบได้
จากข้างต้น SDLC มีอยู่หลายโมเดล แต่ละโมเดลก็มีข้อดี-ข้อด้อย แต่ทุกโมเดลล้วนเป็นกระบวนการในการพัฒนาโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จทั้งสิ้น ส่วนทางทีมออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ของ RM Online Services ได้เลือกใช้ Agile SDLC Model ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
Waterfall SDLC Model
วิธีการของ Waterfall SDLC Model คือ ทำงานเรียงลำดับตามขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดย Output ของแต่ละขั้นตอน จะเป็น Input ของขั้นตอนถัดไป
ข้อดีของ Waterfall Model
การทำงานในรูปแบบนี้จะเรียบง่าย เข้าใจง่าย สามารถตรวจสอบขั้นตอนการทำงานได้ เหมาะสำหรับการพัฒนาโครงการขนาดเล็ก กระบวนการขั้นตอนต่างๆ ถูกระบุไว้ชัดเจนในเอกสาร
ข้อเสียของ Waterfall Model
เนื่องจากขั้นตอนการทำงาน ถูกระบุไว้ชัดเจนในเอกสาร ทำให้ไม่ยืดหยุ่นต่อการแก้ไข เปลี่ยนแปลง มากนัก
Waterfall SDLC Model Schema
V-shaped SDLC Model
วิธีการของ V-shaped SDLC Model คือ เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Waterfall Model โดยเพิ่มการตรวจสอบคุณภาพและทดสอบส่วนต่างๆ ของการพัฒนาเนื่องจาก Waterfall Model นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญด้านการทดสอบมากนัก จึงได้มีการพัฒนา V-shaped Model ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในส่วนนี้
V-shaped SDLC Model Schema
Iterative SDLC Model
วิธีการของ Iterative SDLC Model คือ มีการเก็บข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ในตัวโปรแกรมครั้งแรก แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์มาใช้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม แล้วพัฒนาซ้ำๆ เพื่อปรับปรุงความสามารถ ปรับปรุง Version ของโปรแกรมไปเรื่อยๆ
Iterative SDLC Model Schema
Agile SDLC Model
วิธีการของ Agile SDLC Model คือ หลังจากการพัฒนาแต่ละส่วนๆ ลูกค้าสามารถเห็นผลลัพธ์ ความคืบหน้าของการพัฒนาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของแบบ Agile กล่าวคือ หากมีจุดใดไม่ตรงกับความต้องการ สามารถปรับแก้ไขได้ทันที และก็เป็นข้อเสียของแบบ Agile ด้วย คือ ทางผู้พัฒนาจะประเมินทรัพยากร ระยะเวลาและต้นทุนในการพัฒนายาก ซึ่งอาจจะต้องมีการประชุม ส่งความคืบหน้าอยู่เสมอ
Agile SDLC Model Schema
Spiral SDLC Model
วิธีการของ Spiral SDLC Model คือ เป็นโมเดลรูปแบบเกลียว มุ่งเน้นด้านประเมินความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงของโครงการ โดยจะแบ่งโครงสร้างใหญ่ ออกเป็นโครงการย่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้การปรับเปลี่ยนความต้องการ ทำได้ง่ายขึ้น และระหว่างขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา จะมีการประเมินความเสี่ยงและความต่อเนื่องของโครงการอยู่เรื่อยๆ
Spiral SDLC Model Schema
สำหรับการออกแบบและเขียนโปรแกรมขั้นสูงของ บริษัทรับทำเว็บไซต์ ส่วนใหญ่เลือกใช้ Agile SDLC Model เพราะลูกค้าสามารถเห็นภาพ เห็นความคืบหน้าเป็นระยะๆ ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะต้องมีการประชุมสั้นๆ เป็นระยะๆ
บทความล่าสุด
19 พ.ค. 643,324
จากข้อมูลสถิติโดยเฉลี่ย 2 - 3% ของผู้เข้าชมเว็บเป็นผู้สนใจซื้อสินค้านั้นจริงๆ เคล็ดลับการออกแบบ UX ที่ดี 7 เคล็ดลับ สามารถช่วยเพิ่มยอดขาย มีอะไรบ้าง
8 พ.ค. 6428,281
บัญญัติ 10 ประการในการออกแบบเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดี ตามหลักสากลนิยม ทำให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกประทับใจ ช่วยเสริมธุรกิจออนไลน์ มีอะไรบ้าง มาดูกัน
10 เม.ย. 648,364
Online Marketing คือ การทำการตลาด การทำโฆษณา ผ่านสื่อออนไลน์ ธุรกิจแบบไหนที่เหมาะกับการทำการตลาดออนไลน์? ทำการตลาดออนไลน์ทำอย่างไร?
6 เม.ย. 6419,244
หลักการทำเว็บไซต์แบบ Responsive Web Design เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ CSS ควบคุมการแสดงผล ให้เว็บเพจดูสวยในทุกอุปกรณ์ คิดยังไง? ทำยังไง?